วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สารสนเทศและการสื่อสาร  (Imformation  and  Communication  Technology : ICT) หรือเรียกย่อว่า  ไอซีที”  ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
-
เทคโนโลยี  (Technology)  หมายถึง  การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ  เครื่องใช้  อุปกรณ์  วิธีการหรือกระบวนการ  เพื่อช่วยในการหรือแก้ปัญหาต่างๆทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยฃน์ต่อบุคคล  กลุ่มบุคคล  หรือองค์กร
-
สารสนเทศ  (Imformation)  หมายถึง  ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการต่างๆอย่างมีระบบ  จนได้สิ่งที่เป็นประโยชน์  มีคุณค่าและสาระ  หรือมีเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว  โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล  กลุ่มบุคคล  หรือองค์กร  ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม  ซึ่งเป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง  เพื่อการแลกเปลี่ยนหรือเผยแพร่ข้อมูล  และสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วทันต่อการใช้ประโยชน์ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร  เช่น  วิทยุ  โทรศัพท์  เครื่องโทรสาร  คอมพิวเตอร์  คลื่นวิทยุ  และดาวเทียม


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
          ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มีบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ซึ่งสามารถสรุปได้  ดังนี้
        - 
ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
       - 
ช่วยทำให้วิทยาการต่างๆ  เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
       - 
การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
       - 
สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
        - 
สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
        - 
ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
       - 
กระจายโอกาสด้านการศึกษา  ให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล  สามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
        - 
สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย  เช่น  การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล  เป็นต้น
        - 
ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ  อย่างต่อเนื่อง



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
       ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
   
    ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
        ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ
1.
ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รอบข้าง รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจเมื่อพิจารณาเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ
หน่วยรับข้อมูล (input unit) ได้แก่ แผงแป้นอักขระ เมาส์
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)
หน่วยแสดงผล (output unit) ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์ จะพบว่าคล้ายกัน กล่าวคือ เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากประสาทสัมผัส ก็จะส่งให้สมองในการคิด แล้วสั่งให้มีการโต้ตอบ

2 .
ซอฟต์แวร์
       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติงาน ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานต่างๆ ลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้      ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI) ส่วนซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กรส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการโดยการว่าจ้าง หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
 ซอฟต์แวร์ คือ  ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น
1.     
ซอฟต์แวร์ระบบ  คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
2.     
ซอฟต์แวร์ประยุกต์  คือ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น     ซอฟต์แวร์กราฟิก     ซอฟต์แวร์ประมวลคำ    ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน      ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล
3.
ข้อมูล
     ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
4.
บุคลากร
          บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
5.
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
          ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนในขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ระบบและวิธีการเชิงระบบ
ระบบ (System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อย ๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงานสามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน
วิธีการเชิงระบบ (System Approach) หมายถึง เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย
องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบ
1. ปัจจัยนำเข้า (Input) คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด กฏเกณฑ์ อันเป็นตันเหตุของประเด็นปัญหา
2. กระบวนการ (Process) คือ วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือความต้องการ
3. ผลลัพธ์ (Output) คือ ผลงานที่ได้รับจากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้าผลงานที่ได้รับอาจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ ซึ่งสามารถประเมินผลและตรวจสอบย้อนหลังได้ 
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ การประมวลผลข้อมูล อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สูงสุด
องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ระบบความคิด และ ระบบของเครื่องมือ
องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ในการแก้ปัญหามี 4 ประการ ได้แก่ ข้อมูล (Data)
 สารสนเทศ (Information) ความรู้ (Knowledge) ปัญญา (Wisdom)
องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output)
องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ข้อมูล สารสนเทศ โปรแกรมหรือซอฟแวร์ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนที่ 1การวิเคราะห์ระบบ
1.วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
2. วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดหน้าที่ไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
3. วิเคราะห์งาน เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำ
4. วิเคราะห์วิธีการและสื่อ เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติกลวิธีและสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายหรือสิ่งที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ
1.การเลือกวิธีการหรือกลวิธีเพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทอลองกลวิธีเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2.ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่แหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
3.ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแบบจำลอง
เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง
ข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีคุณลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง
 ความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
คือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย  หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่  ซึ่งขยายความได้ดังนี้ คือ
การที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง 
การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้รวดเร็ว  มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยผ่านสายสื่อสาร  ซึ่งเราเรียกว่า  การเชื่อมต่อแบบเครือข่าย (Network) ถ้าต่อเชื่อมกันใกล้ ๆ ในพื้นที่เดียวกันเรียกว่า LAN (Local Area Network) ถ้าการเชื่อมต่อเครือข่ายทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN เรียกว่า MAN (Metropolitan Area Network) ถ้าเชื่อมต่อกันไกล ๆเช่น ข้ามประเทศเรียกว่า WAN (Wide Area Network)
การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น  ข้อมูลต่าง  ๆ  ขององค์กรมีความสำคัญอย่างมาก  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด  และถือเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด  สำหรับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน  ซึ่งผู้บริหารและองค์กรที่เล็งเห็นถึงประโยชน์  จากการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ชาญฉลาดในการสื่อสารข้อมูลต่าง  ๆ  อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น  ที่จะได้พบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  ตลอดจนสามารถสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้มีความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ  ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันสูง  และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การเพิ่มขีดความสามารถและความชาญฉลาดเข้าไปในระบบเครือข่ายอย่างมากมาย  ผลที่ตามมาก็คือ  โครงสร้างพื้นฐานในการสื่อสารที่ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพสำหรับการสื่อสารทั้งทางด้านเสียง  ภาพและข้อมูลในระบบเครือข่าย  หรือถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าก็อาจจะเรียกสั้น  ๆ  ได้ว่าเป็นระบบเครือข่ายสารสนเทศอัจฉริยะ  ซึ่งจะเป็นระบบสารสนเทศที่ประกอบไปด้วยความคล่องตัว

ปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ  และสามารถปรับแต่ง  หรือเพิ่มขยายได้โดยทุกส่วนขององค์ประกอบที่ได้กล่าวมานั้น  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ  ซึ่งในเชิงธุรกิจแล้วนั้นจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเป้าหมายขององค์กรธุรกิจ  จากการที่ระบบเครือข่ายสารสนเทศได้เข้ามาผลักดันให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและย่นระยะเวาลาในการดำเนินโครงการต่าง  ๆ
ซึ่งหมายความว่า  องค์กรนั้น  ๆ  จะสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามสภาวะการณ์ของตลาดในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่ได้ย่นย่อโลกของเราให้เล็กลงอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน
อินเทอร์เน็ต  (
Internet)
เทคโนโลยีเครือข่ายในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า  เป็นแรงผลักดันในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  และช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน  การเล่น  และการเรียนรู้  สำหรับผู้บริหารที่มองโลกในแง่ดีสักหน่อยก็คงเห็นด้วยว่าการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสารสนเทศมาใช้งานนั้น  สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางภาครัฐหรือภาคเอกชน  เทคโนโลยีเครือข่ายที่มักจะนำมาใช้นั้นที่เรารู้จักกันอย่างก็คือ  อินเทอร์เน็ต  (Internet)”
อินเทอร์เน็ต  (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง  แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่  มีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคนกระจายไปทั่วโลก  จึงมีข้อมูลมากมายมหาศาลแลกเปลี่ยนกันในเครือข่าย  สำหรับประเทศไทยนั้น  อินเทอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 25302535  โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สถาบันการศึกษาโดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเซีย  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  เจ้าคุณทหารลาดกระบัง  และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นสถาบันแรก  ๆ  แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม  2535  จึงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์  โดยบริษัทแรกที่เปิดดำเนินการเป็นผู้บริการอินเทอร์เน็ต  ISP  คือบริษัท  KSC  คอมเมอเชียล  อินเทอร์เน็ต  หลังจากนั้นก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  ซึ่งขณะนี้เวิร์ลด์ไวด์เว็บ  (www.)  กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา  อย่างไรก็ตาม  อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น  เน็ต  (Net)  หรือ  The  Net  ด้วยเช่นเดียวกัน  อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเทอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World–Wide–Web) จริง  ๆ  แล้ว  เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น  แต่บริการนี้ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด
บริการต่าง  ๆ  ของอินเตอร์เน็ต
WWW  (World  Wide  Web)  คือ  บริการข่าวสารผ่านทางหน้าเอกสารอินเทอร์เน็ต  (เว็บเพจ)  มีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น  ๆ  เช่น  นิตยสารและหนังสือ  แต่มีข้อดีที่ตัวหนังสือของเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น  ๆ  ได้ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย  และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกได้ทันทีในราคาถูก  ข้อมูลมีทั้งรูปภาพ  ข้อความ  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  และวีดีโด  ข้อมูลอยู่ในรูป  Interactive  Multimedia
FTP (File Transfer Protocol) คือ บริการไฟล์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เราสามารถนำไฟล์รูปภาพ เสียง ฯลฯ ลงมาเก็บที่เครื่องของเราโดยผ่านโปรแกรมในการเชื่อมต่อหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้
E–mail (electronic mail) คือ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถเหมือนกับจดหมายจริง ๆ แต่ส่งผ่านไปหรือรับทางเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตแทน ทำให้เร็วและประหยัดกว่าการส่งจดหมายแบบเดิม
IRC  (Internet  Relay  Chat)  เป็นแหล่งพูดคุยกันในอินเทอร์เน็ต  สามารถคุยโต้ตอบกันได้ทันที  โยการพิมพ์ข้อความ  โดยผ่านโปรแกรม
เช่น  Pirch,  ICQ,  Qq–thai  เป็นต้น
ค้นหาข้อมูล  (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วย
Home – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
                การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต  (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลย
ปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น  มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ  สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา  โน๊ตบุกส์หรือ
แลปท็อป  ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ในทุกสถานที่
ในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจ
แบบอีบิสิเนส  (e – Business) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกระบวนการของการทำงานในองค์กรธุรกิจทั่วไปและการสร้างประบวนการโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ระหว่างองค์กร เช่น การนำระบบการจัดซื้อออนไลน์ (e–Procurement) หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือระดับกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมการทำธุรกิจ
ออนไลน์ (
e-Commerce) เข้ามาใช้ในการติดต่อสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอกองค์กร หรือแม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในการสื่อสารภายในองค์กร เช่น การจัดให้มีระบบ Intranet ขึ้นในองค์กรเพื่อใช้ในการแจ้งถึงนโยบายและวิธีการปฏิบัติต่างให้กับพนักงานตลอดจนมีการพัฒนามาใช้ในการฝึกอบรม (e-learning) ภายในองค์กรซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก





แหล่งที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น